ขาย เพรชเชอร์เกจ
February 12, 2018ขาย ธงสัญญาณ(signal flag)
May 4, 2018จำหน่าย ปรอทวัดเครื่องจักร เทอร์โมมิเตอร์ อุตสาหกรรม มีทั้ง V-shape Industrial Thermometer และ O-shape Thermometer ทั้งแบบครบชุด และ เฉพาะ ไส้ปรอท
# # # สำหรับลูกค้าที่ต้องการ เช็คราคา กรุณาคลิกเลือกสินค้าที่นี่ค่ะ # # #
ความแตกต่างระหว่าง เทอร์โม type V และ type O
- รูปทรงของกระบอกโลหะ ถ้าเป็น type V หน้าปัดจะทำด้วยวัสดุอลูมิเนียมชุบ ตรงหน้าปัดจะยุบลงไป เป็นรูปตัว V
ขณะที่ทรง O-shape ตัวกระบอกจะทำด้วย ทองเหลือง หรือ สแตนเลส (ซึ่งแพงกว่า) และเป็นกระบอกกลม เป็นรูปตัว O - สเก็ลวัดของทรง O จะอยู่บนแผงอลูมิเนียม ติดกับแท่งแก้ว แต่ถ้าเป็นของทรง V ย่านวัดจะอยู่บนตัวบอดี้ ของกระบอก
- ไส้ของทรง V จะเป็นแค่แท่งแก้ว ไม่มีอุณหภูมิบอก ขณะที่ไส้ปรอทของทรง O จะมีแผงสเก็ลองศาระบุอยู่
การเลือกซื้อ เทอร์โมมิเตอร์ อุตสาหกรรม
- ลูกค้าต้องทราบ ช่วงอุณหภูมิ ที่ต้องการวัดค่า เช่น ปกติ เครื่องจักร จะมีความร้อนอยู่ที่ไม่เกิน 500 องศา ก็เลือก ปรอท 0-600 C
หรือ ธรรมดา อุณหภูมิ เครื่องจักรไม่เกิน 80C ก็เลือก 0-100C เป็นต้น
สำหรับ ลูกค้าต้องการแปลงหน่วยอุณหภูมิ Online คลิ๊กที่นี่ค่ะ - การวัดเกลียว .. เนื่องจากหางของเทอร์โมมิเตอร์ จะเป็นเกลียวแป๊บ ไม่ใช่เกลียวน็อต ดังนั้น
การวัดเกลียว จะต้องวัดทั้งขนาดความโตของเกลียว และ ต้องวัดเบอร์เกลียว โดยใช้หวีวัดเกลียว
โดยลูกค้าควรใช้เวอร์เนียในการวัดความโต เพราะ ถ้ากะ ๆ เอาโดยใช้ไม้บรรทัดจะทำให้ระบุเกลียวผิดพลาดได้
และสินค้าที่จัดส่งไปก็จะใช้งานไม่ได้ - วัดความยาวหาง (Probe) ที่ต้องการ โดย หางไม่ควรสั้นเกินไปเพราะ จะแหย่ไปไม่ถึงจุดที่ต้องการวัดความร้อน
และ หางต้องไม่ยาวเกินไป จนไปยันท่อภายใน (จะทำให้ใส่ไม่ได้) - ความยาวรวม หรือ ความสูงของหน้าปัด อันนี้ขึ้นอยู่กับหน้างานของลูกค้า คือ ถ้าเสื้อสูงไปจะทำให้บอดี้ไปชนกับเพดานด้านบน
หรือ ถ้าเสื้อเตี้ยไป จะทำให้ตำแหน่งติดตั้งต่ำไป อาจจะมองไม่เห็น
ตารางเกลียว เทอร์โมมิเตอร์ Industrial thermometer (เกลียวแป๊บ)
ประวัติ เทอร์โมมิเตอร์ Thermometer ช่วงปลายศตวรรษที่ 16 จากการสังเกตุของเหลวที่ถูกเก็บไว้ในหลอดแก้วแคบๆจะมีระดับเปลี่ยนแปลงขึ้น-ลงตามอุณหภูมิห้อง ทำให้เราพอสังเกตุทราบอุณหภูมิในขณะนั้นได้ และการที่มันมีระดับของการเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมคงที่ในช่วงอุณหภูมิหนึ่งๆ จึงได้กลายมาเป็นเทอร์โมมิเตอร์ ที่มีความเที่ยงตรง และได้มาตรฐานในการวัด จึงถูกนำมาใช้กันมาจนทุกวันนี้ เจ้าของเหลวที่มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงขยายตัว-หดตัวตามอุณหภูมิขึ้นลงนั้นคือ ปรอทและ เอธานอล นั่นเอง
เจ้าของผลงานประดิษฐ์ เทอร์โมมิเตอร์ท่านแรกก็คือ แดเนียล กาเบรียล ฟาเรนไฮน์ (1686-1736) ท่านเป็นนักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ที่นำเอา เอธานอล มาใส่ใช้ในเทอร์โมมิเตอร์ในปี 1709 และ นำปรอทมาใส่ใช้ในเทอร์โมมิเตอร์ในปี 1714 ซึ่งปรอทจะมีคุณสมบัติที่ตอบสนองต่ออุณหภูมิได้ไวกว่าและทนความร้อนได้สูงกว่า เอธานอล ซึ่งต่อมาเขาได้รับเกียรติให้นำชื่อสกุล ฟาเรนไฮน์ มาใช้เป็นหน่วยบอกค่าอุณหภูมิ
ต่อมาในปี 1743 ท่านศาสตราจารย์ แอนเดอร์ เซลเซียส (อังกฤษ: Anders Celsius, พ.ศ. 1701- -1744) เป็นผู้คิดแบ่งช่องหรือขีดเทอร์โมมิเตอร์สำหรับวัดอุณหภูมิ โดยกำหนดนับอุณหภูมิของน้ำแข็งเท่ากับ 0 องศา และที่จุดเดือดของน้ำที่ 100 องศา ต่อมาเขาได้รับเกียรติให้นำชื่อสกุล เซลเซียส มาใช้เป็นหน่วยบอกค่าอุณหภูมิอีกหน่วยหนึ่ง (ค่าขององศาฟาเรนไฮต์นี้ (F) มีจุดเยือกแข็งอยู่ที่ 32F และมีจุดเดือดที่ 212F โดยที่จุดเยือกแข็งกับจุดเดือดของน้ำจะแตกต่างกัน 180 องศา โดยที่ 1 องศาในสเกลองศาฟาเรนไฮต์นี้ มีค่าเท่ากับ 5/9 ของ 1 องศาเซลเซียส
อีกท่านหนึ่งคือท่านลอร์ด วิลเลียม ธอมสัน บารอน เคลวิน ที่หนึ่ง (อังกฤษ: William Thomson, 1st Baron Kelvin; (26 มิถุนายน ค.ศ. 1824 – 17 ธันวาคม ค.ศ. 1907) ท่านเป็นนักฟิสิกส์คณิตศาสตร์และวิศวกร ที่มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ มีผลงานสำคัญคือการคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่พิสูจน์ผลทางด้านไฟฟ้าและอุณหพลศาสตร์ โดยได้พัฒนาคิดสเกลบอกองศาขึ้นใหม่ โดยหาความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิและความเร็วของอิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่รอบนิวเคลียส โดยสังเกตว่าถ้าให้ความร้อนกับสสารมากขึ้น อิเล็กตรอนจะมีพลังงานมากขึ้น ทำให้เคลื่อนที่มีความเร็วมากขึ้น ในทางกลับกันถ้าลดความร้อนให้กับสสาร อิเล็กตรอนก็จะมีพลังงานน้อยลง ทำให้การเคลื่อนที่ลดลง และถ้าสามารถลดอุณหภูมิลงจนถึงจุดที่อิเล็กตรอนหยุดการเคลื่อนที่ ณ จุดนั้น จะไม่มีอุณหภูมิหรือพลังงานในสสารนั้นเลย และจะไม่มีการแผ่รังสีความร้อนจากวัตถุ จึงเรียกอุณหภูมิ ณ จุดนี้ว่า ศูนย์สัมบูรณ์ (0 K) (ชื่อของเขาเป็นที่รู้จักในฐานะผู้พัฒนามาตรฐานการวัดอุณหภูมิสัมบูรณ์ คือระบบเคลวิน (Kelvin) เขาได้รับบรรดาศักดิ์เป็น บารอนเคลวิน ในปี ค.ศ. 1892 เพื่อเป็นเกียรติแก่การคิดค้นของเขา โดยนำชื่อมาจากแม่น้ำเคลวิน ที่ไหลผ่านมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ ในสก็อตแลนด์ แต่เนื่องจากเขาไม่มีทายาทสืบตระกูล ตำแหน่งบารอนเคลวินจึงมีเพียง บารอนเคลวินที่หนึ่ง เพียงคนเดียวเท่านั้น : ที่มา วิกิพีเดีย)
เทอร์โมมิเตอร์ Thermometers จึงถูกนำมาเป็นเครื่องมือใช้วัดอุณหภูมิ โดยจะบอกให้เราทราบว่าวัตถุ, สิ่งของ หรือ บรรยากาศในบริเวณนั้นๆมีอุณหภูมิมีค่าเท่าใด ทำให้เราพอประเมินความรู้สึกร้อน-เย็นของอุณหภูมิที่เทอร์โมมิเตอร์บอกค่านั้นได้ หรือนำค่าอุณหภูมิที่อ่านค่านั้นๆไปใช้ประโยชน์ในการควบคุมขบวนการต่างๆต่อไป
หน่วยวัดอุณหภูมิเป็นองศา ที่ใช้กันโดยทั่วไปได้แก่ ฟาเรนไฮต์ (F) เซลเซียส (C) และเคลวิน (K) (สำหรับประเทศไทยเราจะคุ้นเคยและนิยมใช้หน่วยวัดอุณหภูมิเป็นองศาเซลเซียส (C) มากว่าองศา ฟาเรนไฮต์ (F) และ องศาเคลวิน (K) (หมายเหตุ :ประเทศที่มีการใช้หน่วยองศาฟาเรนไฮต์ในปัจจุบันได้แก่ประเทศสหรัฐอเมริกา ฟิลิปปินส์ คอสตาริกา เปอร์โตริโก)
เนื่องจากคุณสมบัติของปรอทที่มีจุดเยือกแข็งและจุดเดือดที่ –38.9 และ 356.6 องศาเซลเซียสตามลำดับ จึงมีประโยชน์ในการใช้งานในที่ที่มีอุณหภูมิสูงกว่าจุดเดือดของน้ำมากๆ ส่วน เอธานอล มีจุดเยือกแข็งและจุดเดือดที่ –114.1 และ 78.3 องศาเซลเซียส ตามลำดับ จึงมีประโยชน์ในการใช้งานในที่ที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งของน้ำมากๆ
นอกจากเราจะเห็นเทอร์โมมิเตอร์ชนิดปรอทหรือแอลกอฮอล์ขึ้น-ลงรูปแท่งๆแก้วแล้ว เรายังจะเห็นเทอร์โมมิเตอร์ที่เป็นชนิดเข็มหน้าปัดชี้บอกอุณหภูมิ (Dial gauge thermometer) ซึ่งก็ใช้หลักการการขยายตัวของของเหลวให้กลายเป็นความดัน เมื่อของเหลวในกระเปาะโลหะได้รับความร้อนมาก ของเหลวนั้นก็จะขยายตัวมากขึ้นตามอุณหภูมิ หากแต่เนื้อที่ในกระเปาะโลหะถูกจำกัด ทำให้เกิดความดันขึ้นในกระเปาะโลหะที่บรรจุของเหลวดังกล่าวขึ้น แล้วจึงนำอุปกรณ์วัดความดันมาวัดแรงดันเทียบกับอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงขึ้น-ลง แสดงผลบนหน้าปัดเป็นอุณหภูมิ
ยังมีอุปกรณ์วัดอุณหภูมิอีกชนิดหนึ่งที่แสดงออกมาเป็นตัวเลขไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ โดยนำเอาหลักการการตรวจจับรังสีอิฟาเรท (infraredraidation) ที่แผ่ออกจากวัตถุเป้าหมาย (target) ผ่านเลนส์ของเครื่องมือวัด แล้วแปลงรังสีอินฟราเรดเหล่านี้ให้อยู่ในรูปของสัญญาณทางไฟฟ้า จากนั้นวงจรอิเล็กทรอนิกส์จะทำหน้าที่แปลงข้อมูลที่รับมาจากตัวตรวจจับและนำไปแสดงผล การแปลงรังสีอินฟราเรดที่เซนเซอร์ตรวจจับได้ให้เป็นหน่วยของอุณหภูมิโดยอาศัยกฏของ Planck (Planck’s Law) และ กฎของ Stefan-Boltzmann (Stefan-Boltzmann’s Law)
# # # สำหรับลูกค้าที่ต้องการ เช็คราคา กรุณาคลิกเลือกสินค้าที่นี่ค่ะ # # #